Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
คุณเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ หากเป็นแล้วรักษาได้
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ‘เซโรโทนิน (Serotonin)’ มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล และหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้
สาเหตุหรือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น
-ความเครียดสะสม
-การสูญเสียครั้งใหญ่
-สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู
-ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น
-ความเสี่ยงทางพันธุกรรม
-เครียดสะสม ภาวะอันตรายทำลายสุขภาพความเครียด เป็นภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบคั้นกดดัน เมื่อมีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงแล้ว ภาวะความเครียดอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัจจุบัน เป็นอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ส่งผลให้มีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด และกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก
ทุกคนต้องเจอกับภาวะความเครียดอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับมือและจัดการความเครียดนี้ได้อย่างไร?
หากเครียดมาก จะทำให้เสี่ยงเป็นหลายโรค เพราะความเครียดไม่ได้ส่งผลร้ายต่อจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายอีกด้วย ซึ่งนี่คือ 5 อาการเตือนจากร่างกายที่บอกว่า คุณกำลัง “เครียด” เกินไปแล้ว
1.น้ำหนัก ขึ้นลง อย่างรวดเร็ว
ความเครียดมักไปกระตุ้นร่างกาย ให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาในปริมาณมาก ทำให้เกิดความหิวตลอดเวลา และบางครั้งความเครียดก็ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน ทำให้กระบวนการเผาผลาญถูกเร่งให้ทำงานเร็วขึ้นกว่าปกติ2.ป่วยง่าย
ความเครียดทำให้ร่างกาย หลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอลในปริมาณมาก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อคอร์ติซอลน้อยลง จึงทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น3.ท้องอืด ลำไส้แปรปรวน
หากมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายจะหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน ได้4.ปวดศีรษะ
การปวดหัวศีรษะจากความเครียด อาจมีอาการปวดตื้อๆ รอบหน้าผากและหนังศีรษะ5.นอนไม่หลับ
ความเครียดทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ความวิตกในเรื่องที่เครียด ยิ่งทำให้นอนไม่หลับมาก หรือหลับก็หลับไม่สนิท ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิดและเจ็บป่วยง่ายอาการแบบไหนเสี่ยงโรคซึมเศร้า
มีอารมณ์ซึมเศร้า
อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
รู้สึกตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง
เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติ
นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย หรือทำร้ายตัวเอง
ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก
สมาธิลดลง ใจลอย ลังเลใจไปหมด
กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลงคุณเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
หากมีอาการข้างต้น 5 อาการ หรือมากกว่า พบว่าตนเองมีอาการข้างต้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยมีอาการอยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ปรึกษา และรักษาต่อไป
โรคซึมเศร้า รักษาได้อย่างไร?
สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีทั้งการรักษาโดยการใช้ยา การใช้จิตบำบัด การปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด การปรึกษาจิตแพทย์ โดยวิธีการรักษาควรได้รับการประเมินโดยแพทย์เท่านั้น
นอกจากนี้การให้กำลังใจจากครอบครัว คนใกล้ชิด ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายสูง หากมีเรื่องกระทบกระเทือนใจแม้เพียงนิดเดียว โดยจากสถิติพบว่า มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายมีภาวะของโรคซึมเศร้าด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, กระทรวงสาธารณสุข
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ dennisandlavery.com
Economy
-
บัตรคนจน 6 ปีใช้งบ 3.3 แสนล้าน ปี 66
บัตรคนจน 6 ปีใช้งบ 3.3 แสนล้าน ปี 66 รับสิทธิ 14.59 ล้านคน เช็กรายชื่อ 1 มี.ค.
นายกฯ เผย ครม.อนุมัติบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่แล้ว รวมบัตรคนจน 6 ปี ใช้งบ 333,229.6 ล้านบาท เริ่มเช็กรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ 14.59 ล้านคน มี.ค.ย้ำต้องไปยืนยันตัวตนด้วยตัวเอง และเริ่มใช้สิทธิ 1 เม.ย. เดือนละ 300 บาทต่อคน รวมค่าน้ำ–ค่าไฟอื่นๆ เพิ่มเบ็ดเสร็จ 1,545 บาทต่อคน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงภายหลังเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมมีการพิจารณาหลายวาระสำคัญด้วยกัน รวมทั้งหมด 40 กว่าเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องต้องดูแลประชาชน และที่สำคัญวันนี้มีการพิจารณาอนุมัติบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งหลายคนอนุมัติไปแล้ว หลายคนมีปัญหายังไม่ได้ โดยจะเริ่มใช้วันที่ 1 เม.ย.ยืนยันว่าจะดูแลประชาชนของเราให้ดีที่สุด แม้จะเป็นช่วงปลายรัฐบาล
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 หรือบัตรคนจน โดยได้มีการอนุมัติงบกลางเพิ่มเติม 9,140 ล้านบาทเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้รับสิทธิ 14.59 ล้านคน
และจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐในวันที่ 1 มี.ค.2566 ผู้ที่ลงทะเบียนบัตรคนจนไว้ สามารถตรวจสอบรายชื่อตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ตั้งแต่เวลา 06.00-23.00 น. ของทุกวัน หรือที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา
“เมื่อตรวจสอบรายชื่อแล้วพบว่าเป็นผู้มีสิทธิรับสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องเดินทางไปยืนยันตัวตนด้วยตัวเองที่ 3 ธนาคารเท่านั้น คือ ธ.ก.ส., ออมสิน, กรุงไทย ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วย เนื่องจากสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐจากนี้ไปจะใช้บัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น โดยจะเชื่อมข้อมูลไปยังบัญชีธนาคารใดก็ได้ที่ผูกกับระบบพร้อมเพย์ เพื่อโอนเงินให้ทุกเดือน”
ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนสามารถทยอยยืนยันได้ โดยแบ่งเป็น 5 รอบ
ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th รอบที่ 1 วันที่ 1 มี.ค.- 26 มี.ค.66 จะได้เริ่มใช้สิทธิวันที่ 1 เม.ย.66, รอบที่ 2 ยืนยันตัวตน วันที่ 27 มี.ค.-26 เม.ย.66 เริ่มใช้สิทธิวันที่ 1 พ.ค.66, รอบ 3 ยืนยันตัวตนระหว่าง 27 เม.ย.-26 พ.ค.66 เริ่มใช้สิทธิ 1 มิ.ย.66, รอบที่ 4 ยืนยันตัวตนระหว่างวันที่ 27 พ.ค.-26 มิ.ย.66
เริ่มใช้สิทธิ 1 ก.ค.66 และรอบที่ 5 ยืนยันตัวตนตั้งแต่ 27 มิ.ย.66 เป็นต้นไป และเริ่มใช้สิทธิ 1 ส.ค.66 โดยผู้ที่ยืนยันรอบ 2-4 จะได้รับสิทธิย้อนหลังได้ไม่เกิน 3 เดือน นับจากเดือนแรกที่เริ่มใช้สิทธิได้ โดยสิทธิย้อนหลังจะให้เฉพาะวงเงินการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านธงฟ้าราคาประหยัด ส่วนผู้ที่ยืนยันตัวตนรอบที่ 5 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง
นายอาคม กล่าวว่า สำหรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นี้ ทุกคนจะได้สิทธิเท่าเทียมกัน เริ่มจากเงินเดือนคนละ 300 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านธงฟ้า จากเดิมแบ่งตามรายได้ คือ ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ได้รับ 300 บาท
แต่ถ้าเกิน 30,000-100,000 บาท ได้ 200 บาท ส่วนลดการซื้อก๊าซหุงต้มเดือนละ 80 บาทเป็นเวลา 3 เดือน จากเดิม 45 บาท และค่าใช้จ่ายการเดินทาง 750 บาท ใช้รถโดยสารสาธารณะ 8 ประเภท
ส่วนค่าน้ำประปา 100 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน หากเกิน 100 บาท ผู้ใช้น้ำต้องจ่ายส่วนที่เกิน และค่าไฟฟ้า 315 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน หากใช้เกินกว่าที่กำหนดผู้ถือบัตรจะต้องจ่ายเอง โดยค่าน้ำและค่าไฟ กระทรวงการคลัง จะเป็นผู้ชำระให้เอง โดยจะเชื่อมข้อมูลไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน). การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
ทำให้รวมสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบนี้จะได้เงินช่วยเหลือจากรัฐ 1,545 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนผู้พิการที่ถือบัตรคนจนจะได้รับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) อีกคนละ 200 บาทต่อเดือน โดยผู้พิการต้องมายืนยันตัวตนพร้อมกับผูกบัญชีพร้อมเพย์เท่านั้น หากเป็นผู้พิการติดเตียง ต้องมีหนังสือยินยอมและมอบอำนาจ โดยมีพยานเป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนันในพื้นที่นั้นๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในปี 61 จนถึงการอนุมัติล่าสุดปี 66 รวม 6 ปี รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 333,229.6 ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 61 ใช้งบประมาณ 43,614.5 ล้านบาท ผู้รับสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.2 ล้านคน ปี 62 งบประมาณ 93,155.4 ล้านบาท รับสิทธิ์ 14.6 ล้านคน ปี 63 งบประมาณ 47,843.5 ล้านบาทรับสิทธิ์ 13.9 ล้านคน ปี 64 งบประมาณ 48,216 ล้านบาท รับสิทธิ์ 13.5 ล้านคน ปี 65 งบประมาณ 34,986.4 ล้านบาท รับสิทธิ์ 13.2 ล้านคน ปี 66 งบประมาณ 65,413.80 ล้านบาท รับสิทธิ์ 14.59 ล้านคน.
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : dennisandlavery.com
Posts Carousel
Latest News
สูตรการเดิมพัน คาสิโนออนไลน์ โบนัสการสมัครเริ่มต้นเดิมพัน
โบนัสการสมัคร สูตรการเดิม...
อันโตนิโอ คอนเต้ กับระเบิดเวลาที่กำลังนับถอยหลังของ สเปอร์ส
อันโตนิโอ คอนเต้ ผู้จัดกา...
คอนเต้ ตำหนิผู้เล่นท็อตแนม’เห็นแก่ตัว’หลังเสมอเซาแธมป์ตัน
อันโตนิโอ คอนเต้ วิจารณ์ ...
ถึง 30 ประตู ฮาลันด์ ทุบสถิติยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก
เออร์ลิง เบราต์ ฮาลันด์ ท...
คุณเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ หากเป็นแล้วรักษาได้
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิต...